ผู้เยี่ยมชม

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

HDTV คืออะไร และแนวทางการเลือกใช้ HDTV


ต่อจากบทความก่อนนะครับ จะมาพูดถึง HDTV (Hi-Definition TV)โดยให้รายละเอียดเพิ่มขึ้นครับ..

HDTV คือทีวีแบบใหม่ที่สามารถรับและแสดงสัญญาณภาพระดับ Hi-def (ภาพรายละเอียดความคมชัดสูง) ที่ส่งออกมาจากเครื่องเล่นประเภทต่างๆ ได้ครับ ในกรณีของเครื่องเล่นเกมส์ PS3 จะปล่อยสัญญาณ Hi-def ออกมา 3 แบบเป็น 720p/1080i/1080p (1080P เฉพาะช่องสัญญาณ HDMI) ส่วน Xbox 360 จะปล่อยสัญญาณที่ดีสุดผ่านทางช่องคอมโพเนนท์ที่รายละเอียดเท่ากับ PS3 แต่จะเป็นสัญญาณอนาล็อกต่างกับช่อง HDMI ของ PS3 ที่เป็นดิจิตอล

HDTV แต่ละแบบจะให้คุณภาพของภาพที่ต่างกันไป มีข้อดีและข้อด้อยทุกแบบ อันนี้แล้วแต่ความชอบส่วนตัวครับ ถ้าให้แนะนำคงเป็นจอแก้วแบบไวด์สกรีนที่รับ HD ได้ครับ ตอนนี้หลายยี่ห้อทำออกมาแข่งกันอยู่ แต่ก็ยังเกินหมื่นขึ้นไป (ราคา 28-34 นิ้วประมาณ 15000-25000) ถ้าเอาแบบต่ำกว่าหมื่นลงมาคงต้องเลือกจอแอลซีดีมอนิเตอร์แทนครับ แต่ขนาดจอจะไม่ใหญ่เท่ากับทีวี (ประมาณ 17-22 นิ้ว)

H ย่อมาจาก High
D ย่อมาจาก Definition

ผมขอเรียกย่อๆ ว่า Hi-Def นะครับ Hi-Def คือ TV แบบใหม่ที่สามารถรองรับการแสดงผลของสัญญาณของภาพระดับ Hi-Def หรือจะเรียกว่า TV ที่สามารถรับภาพที่มีความละเอียดและความคมชัดสูง สามารถรับชมภาพยนตร์หรือวิดีโอที่อัดไว้ด้วยฟอร์แมต Blu-ray และ HD-DVD ซึ่งจะส่งออกมาจากเครื่องเล่นรุ่นใหม่ประเภทต่างๆครับ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของเครื่องเล่นเกม PS3 (Playstation3) จะสามารถปล่อย สัญญาณแบบ Hi-Def ออกมา 3 แบบ ซึ่งจะเป็นแบบ 720p/1080i/1080p โดย1080p จะเป็นช่องสัญญาณเฉพาะเรียกว่า HDMI แต่สำหรับ Xbox 360 จะปล่อยสัญญาณที่ดีที่สุดผ่านทางช่อง คอมโพเนนท์ที่รายละเอียด เทียบเท่ากับ PS3 แต่จะเป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ต่างกับช่อง HDMI ของ PS3 ที่เป็นดิจิตอล (Digital)


HDTV แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะให้คุณภาพของภาพที่ต่างกันออกไปนะครับ ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีข้อดีและข้อด้อยอยู่ด้วยกันทุกแบบ แนะนำให้ เลือกเป็นแบบจอแก้วไวด์สกรีน (Wide-Screen) ที่รองรับ HD ได้ครับ ตอนนี้หลายยี่ห้อทำออกมาแข่งกันอยู่ แต่ราคาก็ยังอยู่ในหลัก 10,000 บาทขึ้นไปนะครับ (โดยราคา 28-34” จะอยู่ที่ประมาณ 15,000-25,000บาท)


เคล็ดลับในการเลือกซื้อ HDTV

1. พิจารณาถึงศักยภาพความละเอียดของ HDTV โดยดูที่ตัวเลขตรง Resolution ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข 2 แบบเช่น 1920 x 1080, 1366 x 768 เป็นต้น โดยตัวเลขส่วนแรกจะเป็นค่าความละเอียดของพิกเซลบนหน้าจอ ส่วนตัวเลขที่ส่วนหลังจะเป็นจำนวนเส้นที่จอภาพนั้นรองรับ (Horizontal Line) ยิ่งตัวเลขสูงภาพที่ได้ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

สำหรับ HDTV ให้ดูที่จำนวนเส้นที่รองรับ ค่าตัวเลขที่เหมาะสมอย่างต่ำต้อง 720p หรือ 1080i (ตัว p ย่อมาจาก Progressive Scan ส่วนตัว i ย่อมาจาก Interlaced) ซึ่งรุ่นที่รองรับแบบนี้มีออกมาได้สักระยะแล้ว และรุ่นที่รองรับ 1080p กำลังเริ่มเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นความละเอียดสูงสุดในตอนนี้

2. พยายามเลือกดูทีวีที่เป็นจอไวด์สกรีนสัดส่วน 16:9 ไว้ก่อน เพราะว่าเกมและภาพยนตร์ระดับ Hi-Def ในตอนนี้จะถูกบันทึกมาในรูปแบบไวด์สกรีนทั้งหมด ถ้าคุณไม่มีจอภาพแบบไวด์สกรีนก็เท่ากับว่าคุณพลาดโอกาสในการรับชมภาพแบบเต็มจอไปฟรีๆ

3. ให้แน่ใจว่า HDTV ที่ตั้งใจจะซื้อมีการเชื่อมต่อสัญญาณได้หลายรูปแบบ ถ้าให้ดีควรมีช่อง HDMI/DVI/Component ครบถ้วน

4. ระวังในเรื่องของการไม่เข้ากันของสัญญาณ โดยทีวีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีค่า Native Resolution แสดงไว้ ซึ่งเป็นค่าที่ไว้แสดงผลการรับสัญญาณทั้งหมดที่ทีวีเครื่องนั้นรับได้ (ส่วนใหญ่จะเป็น 720p) ซึ่งสัญญาณทั้งหมดที่เข้ามาจะถูกปรับขึ้นหรือลง เพื่อให้เข้ากับค่า Native Resolution ของเครื่อง ด้วยตัวประมวลผลของทีวีนั้นเอง ถ้าตัวประมวลผลเชื่องช้าก็อาจเกิดการหน่วงของภาพได้ ในขณะที่ Xbox 360 และ PS3 จะส่งสัญญาณแบบ 720p ได้ (รวมถึง Xbox 1 บางเกมด้วย) ทำให้ไม่จำเป็นที่ทีวีแบบ 720p ต้องมาคอยเปลี่ยนสัญญาณอีก แต่ถ้าเป็นเครื่องเกมรุ่นอื่นๆ จะส่งสัญญาณที่ 480i และ 480p ซึ่งใช้ในทีวีแบบปกติ ถ้ากังวลปัญหานี้ก็ให้ยกเครื่องเกมไปที่ร้านขายทีวีพร้อมกับเกมที่ส่งสัญญาณทั้งแบบเก่าและใหม่เพื่อลองทดสอบดูเลยจะดีกว่า

5. ตรวจดูข้อด้อยที่เป็นปัญหาของทีวีแต่ละแบบให้ละเอียด อย่างค่า Response Time ที่ระบุเป็นตัวเลขเช่น 12ms, 8ms ซึ่งเป็นค่าการตอบสนองกับภาพเคลื่อนไหว (ตัวเลขยิ่งต่ำยิ่งดี) ถ้ามากไปอาจทำให้คุณเห็นภาพเบลอจากเงาของภาพขณะเคลื่อนไหวได้ ในกรณีของทีวีแบบ DLP สายตาของคุณอาจมองเห็นสายรุ้งพร่ามัวบนทีวีแบบนี้ได้ คุณต้องลองดูอย่างระมัดระวังที่สุด เพราะ HDTV ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้บ่อยเหมือนแฟชั่นการเปลี่ยนมือถือ

*อันนี้จะเกี่ยวกับคอเกมส์นะครับ เพราะเราจำเป็น ต้องระวังในเรื่องของการไม่เข้ากันของสัญญาณ โดยทีวีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีค่า Native Resolution แสดงไว้ ซึ่งเป็นค่าที่ไว้แสดงผลการรับสัญญาณ ทั้งหมดที่ทีวีเครื่องนั้นรับได้ (ส่วนใหญ่จะเป็น 720p) ซึ่งสัญญาณทั้งหมดที่เข้ามาจะถูกปรับขึ้น หรือลง เพื่อให้เข้ากับค่า Native Resolution ของเครื่อง ด้วยตัวประมวลผลของทีวีนั้นเอง ถ้าตัว ประมวลผลช้าก็อาจเกิดการหน่วงของภาพได้ แต่ปัญหานี้เครื่องเกมส์รุ่นใหม่เช่น Xbox 360 และ PS3 จะส่งสัญญาณแบบ 720p ได้อยู่แล้ว ทำให้ไม่ จำเป็นที่ทีวีแบบ 720p ต้องมาคอยเปลี่ยน สัญญาณอีก แต่ถ้าเป็นเครื่องเกมรุ่นอื่นๆ ซึ่งจะส่ง สัญญาณที่ 480i และ 480p ซึ่งใช้ในทีวีแบบปกติ

**ศัพท์**
-HDMI เป็นระบบการเชื่อมต่อภาพและเสียงแบบใหม่ครับ ย่อมาจากคำว่า (H)igh (D)efinition (M)ultimedia (I)nterface โดย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลแบบไม่มีการบีบอัดข้อมูลไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ให้ความคมชัดของภาพ มีความละเอียด มีความคมลึกและให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ขั้วต่อของ HDMI to HDMI จะผลิตจากทองแท้ 24 K ด้วยนะครับ ทุกวันนี้ HDMI ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ Home Theatre หลายอย่างเช่น พลาสม่าทีวี แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ

ภาพสาย HDMI

High Definition (Hi-Def) คืออะไร?


หากจะกล่าวแบบรวบรัดเพื่อให้เข้าใจถึงความแตกต่างในภาพรวมแล้ว ระบบภาพของฟอร์แมท DVD-Video มาตรฐานจะมีความละเอียดเส้นแนวนอนที่ 480 ในระบบ NTSC และ 576 ในระบบ PAL ซึ่งมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Standard Definition(SD) มีสัดส่วนภาพทั้งแบบ Fullscreen 4:3 และ Widescreen โดยมีอัตราบิตเรทสูงสุดของกระแสข้อมูลวิดีโอที่ 9.8 Mbps

ส่วนระบบภาพที่มีความละเอียดสูงกว่านี้จะถูกจัดอยู่ใ นกลุ่ม High Definition (Hi-Def หรือ HD) เช่น 720 เส้น (1280x720 พิกเซล), 1080 เส้น (1920x1080 พิกเซล) เป็นต้น โดยจะใช้สัดส่วนภาพแบบ Widescreen ทั้งหมดด้วยอัตราบิตเรทที่ส่วนใหญ่จะสูงกว่าฟอร์แมท DVD-Video แบบเดิมๆ

จะชมภาพระดับ Hi-Def ได้อย่างไร?

แน่นอนที่ผู้ใช้ต้องมี TV หรือจอรับภาพที่สามารถรับสัญญาณในระดับ HD ได้ ซึ่งในหลายประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะมีการถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เพื่อการรับชมกับ HDTV ตามที่พักอาศัยมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว แต่สำหรับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยนั้น การจะได้ชมภาพวิดีโอ HD มีเพียงทางเลือกเดียวคือการชมผ่านสื่อบันทึก

ภาพยนตร์หนึ่งเรื่องในฟอร์แมท SD ที่ความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงจะสามารถบรรจุลงบน DVD 1 แผ่นได้สบายๆ แต่ด้วยความละเอียดภาพที่สูงกว่าของฟอร์แมท HD ทำให้ขนาดข้อมูลต่อระยะเวลาของวิดีโอนั้นสูงตามไปด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องเดียวกันนี้เฉพาะในส่วนของข้อมูลวิดีโออาจมีขนาดไฟล์ข้อมูลได้มากกว่า 20 GB (เทียบได้ประมาณ 5 แผ่น DVD5)

ด้วยเหตุนี้ สื่อบันทึกที่เป็นแผ่น DVD ปกติทั้งชนิด *DVD-5 และ DVD-9 จึงมักไม่เพียงพอในการใช้งานสำหรับภาพยนตร์ทั่วๆ ไปเพราะขนาดข้อมูลที่สูงของฟอร์แมท HD นั่นเอง แต่ก็มีผู้ผลิตบางรายที่ยังใช้แผ่น DVD บันทึกภาพยนตร์ในฟอร์แมท HD ออกมาจำหน่าย (DVD-HD) ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้ DVD ถึง 2 แผ่นหรือมากกว่า ซึ่งหมายความว่าผู้ชมจะต้องเปลี่ยนแผ่นให้เครื่องเล่นสำหรับการชมภาพยนตร์ในแต่ละเรื่องนั่นเอง

* ชนิดของแผ่น DVD
1. DVD-5 แผ่นหน้าเดียว ข้อมูลชั้นเดียว SS-SL จุข้อมูลได้ 4.7 GB (เลยเรียกว่า 5) แผ่นก๊อปจะนิยมทำเป็น dvd-5 เพราะต้นทุนต่ำที่สุด ผลิตได้ไวไม่ซับซ้อน แผ่นแท้ที่เป็น dvd-5 ก็มีนะครับ เช่น The Corr unplug , Batman เป็นต้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเป็นสำคัญ ถ้าหนังข้อมูลไม่เยอะก็จะบรรจุลง dvd-5 ได้ จุดนี้ไม่เกี่ยวกับคุณภาพว่า dvd-5 จะต้องด้อยกว่า dvd-9 คุณภาพวัดกันที่บิทเรทในการ compress ข้อมูล ไม่ใช่เป็นแผ่น dvd-9 แล้วจะต้องดีกว่า dvd-5 ทุกอย่างครับ

2. DVD-9 แผ่นหน้าเดียว ข้อมูลสองชั้น SS-DL จุข้อมูลได้ 8.5 GB (เลยเรียกว่า 9) ส่วนมากจะพบเห็นในหนังที่มีความยาวมากเกินสองชั่วโมง หรือหนังไม่ยาวแต่มีข้อมูลของเสียงหลายแบบเช่น แผ่นเดียวกันมีทั้งระบบเสียง Dolby Digital และ DTS หรือพวกหนังที่มีเบื้องลึก เบื้องหลัง มีของแถมเต็มไปหมด การบรรจุข้อมูลที่เยอะ ไม่สามารถเก็บในข้อมูลชั้นเดียวได้ ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงจะเป็นต้องทำเป็นแผ่น dvd-9

3. DVD-10 แผ่นสองหน้า ข้อมูลชั้นเดียว DS-SL จุข้อมูลได้ 9.4 GB (เลยเรียกว่า 10) เป็นแผ่นที่เห็นในดีวีดียุคแรกๆแต่ปัจจุบันไม่ค่อยทำแล้ว (ก็มีบ้าง) ส่วนมากจะเป็นแผ่นที่มีภาพไวด์สกรีนหน้านึง และฟูลสกรีนอีกหน้าหนึ่ง เช่นเรื่อง Fifth element

4. DVD-18 แผ่นสองหน้า ข้อมูลสองชั้น DS-DL จุข้อมูลได้ประมาณ 18 GB เป็นแผ่นดีวีดีที่มีความจุสูงสุดในปัจจุบัน นิยมใช้กับหนังที่มีความยาวมาก หรือมี feature เยอะเป็นพิเศษ เช่นเรื่อง Benhur , T2 ultimate edition เป็นต้น

DVD จะมีการพูดถึง โซนของแผ่น เราคงจะสงสัยกันนะครับ ว่าคืออะไร และแบ่งโซนทำไม

เป็นเรื่องของการค้าครับ การแบ่งโซนจะแยกแหล่งกระจายจำหน่ายของแผ่นนั้น โดยจะแยกตามการจำหน่าย เวลา ที่ต่างกันอยู่ เพื่อป้องกันการนำแผ่นไปเปิดก่อนการจำหน่ายในโซนที่ต่างๆ กัน (แต่เครื่องเล่นเดี๋ยวนี้สามารถอ่านได้แบบ ALL ZONE จึงไม่มีปัญหา)

ชนิดของโซนต่างๆ

โซนที่ 1 อเมริกาเหนือ แคนาดา
โซนที่ 2 ญี่ปุ่น และยุโรป
โซนที่ 3 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย ฮ่องกง เกาหลี อินโดนีซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ
โซนที่ 4 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกาใต้
โซนที 5 อินเดีย โซเวียต รัสเซีย อาฟริกา
โซนที่ 6 ประเทศจีน

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูง HD-DVD และ Blu-ray


สำหรับคนที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว วงการบันเทิงในห้องนั่งเล่นที่บ้านแล้ว ประวัติศาสตร์ของฟอร์แมต การเอ็นโค้ดข้อมูลน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ผู้ผลิตที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์เพลง และภาพยนตร์ของตน เข้าสู่บ้านของผู้บริโภคให้ได้นั้น พวกเขาจะต้องคิดค้นสื่อที่สามารถเก็บเพลง และภาพยนตร์เหล่านั้นในสภาพที่เหมือนจริงมากที่สุด นั่นเป็นที่มาของเทคโนโลยีตั้งแต่ไวนิล, เทปคาสเซตต์, เบต้าแมกซ์, วีเอชเอส, ซีดี มาจนถึงดีวีดีที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ชั้นเก็บของข้างโทรทัศน์ที่บ้านเต็มไปด้วยแผ่นพลาสติก และแถบแม่เหล็กมากมาย

ล่าสุด เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาเสนอเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ก็คือ วิดีโอความคมชัดสูง หรือ High Definition Video เทคโนโลยีใหม่นี้เพิ่มจำนวนของพิกเซลหรือความละเอียดของภาพให้เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ได้ภาพบนหน้าจอที่คมชัดมากขึ้น และเนื่องจาก ภาพความคมชัดสูงนี้เก็บข้อมูลภาพที่ละเอียดขึ้นทำให้ภาพยนตร์ความคมชัดสูงต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสูงมากขึ้นด้วยและมากกว่าที่แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปสามารถจัดเก็บได้

เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้มีด้วยกันสองรูปแบบด้วยกัน คือ HD-DVD ของโตชิบา และ Blu-ray ของโซนี่

ถ้ายังจำกันได้เมื่อหลายปีก่อนมีมาตรฐานของวิดีโอออกมาสองตัว คือ VHS และ Betamax ซึ่งในตอนนั้นผู้บริโภคจะต้อง ตัดสินใจเลือกหนึ่งในสองมาตรฐานนั้น หรือไม่ก็ต้องซื้อทั้งสองมาตรฐานเลย เพราะทั้งสองมาตรฐานไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ นั่นหมายความว่า ถ้าผู้บริโภคเลือกทั้งสองมาตรฐานก็จะต้องซื้อเครื่องเล่นสองเครื่อง เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้ก็เช่นเดียวกัน โดย HD-DVD ได้รับการสนับสนุนจากโตชิบา และเอ็นอีซี ส่วน Blu-ray มีโซนี่หนุนหลัง อย่างไรก็ตาม เคยมีบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ว่า สุดท้ายแล้วฮอลลีวูดคงจะต้องเลือกแค่เพียงมาตรฐานเดียว และมาตรฐานที่จะได้รับเลือก ก็จะเป็นมาตรฐานที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด ซึ่งนั่นหมายความว่า Blu-ray น่าจะ ชนะไปอย่างฉิวเฉียดในท้ายที่สุด


Blu-ray Player


แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blu-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน (ถ้าจะพูดจริงๆ คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง)

แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blu-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blu-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blu-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blu-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blu-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD

Blu-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค), ธอมสัน, แอลจี, ฟิลิปส์, ไพโอเนียร์, ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์


HD DVD Player


เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย

นี่หมายความว่า Blu-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด

จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blu-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกม, มิวสิกวิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้


Blu-ray Disc และ HD DVD Disc


อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโน โลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมีสี่เหตุผลสำคัญ ที่มาสนับสนุน ได้แก่

1. อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blu-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มีเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ iTunes ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือ ต้องมีเครื่อง Xbox ด้วย

2. Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจาก การดาวน์โหลด

3. การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blu-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blu-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blu-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย

4. การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน iTunes ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิกส์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงคือ สัจธรรมอันเป็นนิรันดร์ที่ทุกคนต้องพบเจอเสมอ..