ผู้เยี่ยมชม

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

ชนิดของเครื่องเสียง

จากบทความที่แล้ว เราคงได้ทราบถึงองค์ประกอบของเครื่องเสียง ที่มีทั้ง Pre -Amp , Amp และลำโพง กันแล้ว แต่ชนิดของเครื่องเสียง ก็ยังแบ่งตามขนาด (size) โดยแบ่งเป็น

1.เครื่องเสียงแยกชิ้น (ชุดใหญ่) ซึ่งก็คือเครื่องเสียงที่มี Pre-Amp (DVD Player,Juner,Tape..) ,Amp และลำโพงแยกจากกัน โดยมากจะมีกำลังขับของเครื่องขยายเสียงที่สูง ตัวจะใหญ่ ทั้งขนาดเครืองเล่น Amp และลำโพง จะให้เสียงที่ดังมากเมื่อปรับ Volume เสียงเพิ่มขี้นเพียงเล็กน้อย โดยมักใช้กับห้องฟังเพลง หรือดูหนัง ที่มีขนาดใหญ่

2.เครื่องเสียงขนาดเล็ก (Mini-components) คือ เครื่องเสียงที่มีขนาดย่อมลงมา โดยอาจจะมี Pre-Amp ,Amp และลำโพงแยกหรือไม่แยกจากกันก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่แยกกัน โดยมากจะมี Pre-Amp ติดกันกับ Amp และลำโพง แต่อาจจะมีลำโพงแยกออกมาจากเครื่องก็ได้ จะมีกำลังขยายเสียงย่อมลงมาจากชุดใหญ่แยกชิ้น ใช้สำหรับดูหนัง หรือฟังเพลง ในห้องที่เล็ก ไม่กว้างใหญ่เกินไป เนื่องจากข้อจำกัดของกำลังขยายเสียง (ค่อนข้างเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้โดยทั่วไป ที่ไม่เน้นห้องขนาด HOME THEATER)



3.เครื่องเสียงขนาดจิ๋ว (Micro-components) คือ เครื่องเสียงที่มีขนาดเล็กๆ โดยมักคล้ายๆ กับ mini-components แต่จะมีขนาดเล็กกว่า และกำลังขยายเสียงน้อยกว่า เหมาะกับการฟังในห้องเล็กๆ หรือหัวนอน





ลองเลือกใช้เครื่องเสียงตามความเหมาะสม และความพอใจนะครับ..

--หวังว่าคุณจะมีความสุขกับการฟังเพลงโปรด และดูหนังเรื่องโปรดในห้องฟังเพลงของคุณ กับเครื่องเสียงสักตัว ที่ถูกใจคุณนะครับ--






วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องเครื่องเสียง


หลังจากบทความก่อน เป็นเรื่องที่กล่าวถึงโทรทัศน์หรือทีวีกันแล้ว ในวันนี้จะมาพูดคุยถึงเรื่องเครื่องเสียง เพื่อการฟังเพลง และดูหนังกันครับ.


ชนิดของเครื่องเสียง

เครื่องเสียงโดยหลักๆ หากจะแบ่งชนิด ตามวัตถุประสงค์การใช้ บางท่านอาจใช้สำหรับฟังเฉพาะเพลงเป็นหลัก และบางท่านอาจเพื่อดูหนังหรือภาพยนตร์เป็นหลัก บางท่านก็ทั้ง 2 อย่าง คือทั้งดูหนังและฟังเพลง
ที่ผมได้แยกชนิดตามการใช้งานหลัก ก็เพราะว่า เครื่องเสียงที่จะตอบสนอง ทั้ง 2 อย่างได้ดีนั้น อาจจะไม่ดี
สำหรับการใช้งานของแต่ละคน เนื่องจากการฟังเพลงบางครั้งไม่ได้ต้องการเสียงแบบตูมตาม เหมือนดูหนัง
ดังนั้น จึงต้องแยกชนิดตามการใช้งานเป็นหลักครับ.

เครื่องเสียงปกติมีองค์ประกอบหลักเหมือนกัน ดังนี้ครับ

1.ตัวรับสัญญาณ-ขยายสัญญาณเบื้องต้น เราคงคุ้นๆ กับ Pre-amp.(Pre-amplifier) ซึ่งก็คือ บรรดาเครื่องเล่นต่างๆ เช่น DVD, VCD, MP3,MP4,JUNER (วิทยุ) ,เทป (เทปใบ้=ไม่สามารถออกเสียง(ขยาย)ได้เอง) ,IPOD และอื่นๆ ที่ยังต้องมีตัวขยายเสียงต่อ

2.ตัวขยายเสียง (AMP.=Amplifier) ซึ่งหน้าที่หลักของตัวขยายเสียงคือ ขยายสัญญาณเสียงให้มากขึ้นโดยรับต่อจาก Pre-amp. และกำลังขยายจะบอกถึงความเข้มและดังของเสียงที่ได้ ตัวขยายเสียงจะแสดงกำลังเป็นวัตต์ (WATT) ยิ่งมากจะขยายสัญญาณได้มากขึ้น

* ปัจจุบันจะมีเครื่องรับที่รวมเอาตัวขยายไว้ด้วยกันในเครื่องเดียว จะเรียกว่า รีซีฟเวอร์ (Receiver) ซึ่งก็จะสะดวกขึ้น ไม่ต้องแยกชิ้น

3.ลำโพง (Speakers) เป็นตัวที่แสดงเสียง โดยรับต่อจากตัว Amp. และแปลงสัญญาณ และสั่นเป็นคลื่นที่กรวยเสียง (ดอกลำโพง-Driver) ส่งคลื่นเสียงออกมา

นี่ก็คือหลักๆ ของเครื่องเสียง ในส่วนรายละเอียดของแต่ละอย่าง ผมจะนำเสนอต่อไปในบทความต่อๆไป ครับ คอยติดตาม กันนะครับ.


ความรู้เรื่องทีวี

เราคุยกันถึงเรื่อง เสียง และ ภาพ จากบทความก่อนหน้านี้มาบ้างแล้ว วันนี้จะพูดถึงโทรทัศน์หรือทีวีสี
ทีวีสีรุ่นเก่าๆ ที่จอยังโค้ง และมีหลอดภาพเป็นชนิดคาโทด CRT (Cathode Ray Tube) โดยปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้ว ชนิดของทีวีสี ซึ่งกำลังนิยมคือจอแบน และมีให้เลือกอยู่ 2 ชนิด ที่เราได้ยินบ่อยๆ ช่วงหลังๆ มานี้ คือ ทีวีแอลซีดี (LCD TV) กับ ทีวีพลาสมา (PLASMA TV) แล้วทั้ง 2 ชนิดนี้ แตกต่างกันอย่างไร?




1. จอผลึกเหลว LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่ไม่มีหลอดภาพ หรือปืนอิเล็กตรอนสำหรับกวาดหน้าจอ องค์ประกอบของจอภาพ เริ่มจากแหล่งกำเนิดแสง back light บนแผ่นโพลารอยด์ด้านหลังชั้นของ Twisted-Nematic (TN) LCD จะมีการหุ้มด้วยแผ่นแก้วหรือกระจกทั้ง 2 ด้าน ใช้แผ่นโพลารอยด์ด้านหน้าผนวกกับชั้นนอกสุดเป็นแผ่นกันการสะท้อนแสง การทำงานจริงๆนั้นผลึกเหลวที่หยอดเอาไว้ระหว่างช่องกระจกจะถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ทำให้โมเลกุลของลิควิดคริสตัลในส่วนของจุดภาพ พิกเซล (pixel) นั้นหมุนเป็นมุม 90 องศา เพื่อให้เกิดได้ทั้งจุดสว่าง และจุดมืด หากเรากล่าวว่าเทคนิคของ LCD คือการบิดตัวโมเลกุล แล้วเอาเงาของมันมาใช้งานก็ถือว่าถูกต้องอย่างที่สุด ขนาดจอ LCD มีตั้งแต่10นิ้วไปจนถึง60นิ้วนับว่ามีการใช้งานกว้างขวางมาก




2.จอแบบ GAS PLASMA จอภาพแบบพลาสม่าทีวี หรือชื่อแรกทางวิชาการที่เราเรียกขานคือ gas plasma เป็นจอที่มีการ ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูงคล้าย CRT จึงไม่มีใครผลิตในจอขนาดเล็กแบบใช้แบตเตอรี่ จอพลาสม่าทีวีเหมาะสมกับการใช้ไฟ AC เป็นหลัก สำหรับเทคโนโลยีแบบ gas plasma นั้นเป็นการใช้แสงที่เกิดจากการแตกตัว ionized ของ neon gas (นีออน)เพื่อแสดงผลของภาพออกมาที่แผงหน้าจอ ภายในจอภาพแบบ gas plasma มีองค์ประกอบที่เต็มไปด้วย neon gas ใช้แผ่นกระจกเป็นตัวประกอบร่องฟอสฟอรัสภายใน มีการแสดงผลจะอยู่ระหว่างแผ่นแก้ว ตัวแผ่นแก้วด้านหน้าถูกเคลือบขั้วไฟฟ้าแบบโปร่งแสงในแนวตั้ง และแผ่นแก้วปิดด้านหลัง จะทำการเคลือบตามแนวนอน สำหรับเทคนิคในการเจาะร่องๆใช้วางขั้วไฟฟ้าเราจะเรียกว่า ผังกริด (grid pattern) จอพลาสม่าทีวีแต่เดิมออกแบบมาเพื่อทดแทนจอ CRT ขนาดใหญ่โดยตรง ขนาดจอ PLASMA มีตั้งแต่32นิ้วไปจนถึง60นิ้ว

คำถามที่มีมามากที่สุดก็คือ จอแบนแบบ LCD และ PLASMA ใครดีกว่ากัน ?
เนื่องจากลักษณะโครงสร้างการออกแบบแต่ละเทคโนโลยีต่างกันมาก และหากจะว่ากันให้ยุติธรรมต้องบอกว่าทั้งสองประเภทนี้ มีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันไป ไม่มีใครดีที่สุด ไม่มีใครแย่ที่สุด แต่จุดได้เปรียบ เสียเปรียบ และความเหมาะสม มีหลายข้อ
โดยหลักการแล้ว ขนาดของจอ LCD มีกว้างขวางหลายขนาด ทำให้ตลาดดูใหญ่กว่าพลาสม่าทีวีมากทีเดียว อันนี้นับรวมทั้งจอภาพมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงจอภาพโฮมเธียเตอร์

แต่พลาสม่าทีวีมีช่วงขนาดแคบ จับกลุ่มอยู่แต่เฉพาะตลาดจอ display และโฮมเธียเตอร์ ที่ต้องการขนาดจอมากกว่า 42นิ้วขึ้นไป ถึง 60นิ้ว ไม่มีการลงมาผลิตในตลาด 10-30นิ้ว แต่อย่างใด

เรื่องของการแสดงสีในทางเทคนิคแล้วแอลซีดีทีวี จะให้สีเต็มอิ่มฉ่ำกว่าพลาสม่า แต่การให้รายละเอียดเฉดสียังเป็นรองพลาสม่าอยู่ สีดำนั้นหากเราวัดกันด้วยมาตรฐานเดิมของจอแบบ CRT ซึ่งเป็นราชาแห่งการแสดงผลสีดำ ให้ความดำมืดสนิทมากที่สุด ไม่ใช่ดำแบบสว่างเรือง หรือแบบดำเทา เฉดสีดำของLCD เหมาะกับการฉายในที่สว่าง เพราะอาจจะเรืองแสงออกน้ำเงินม่วงผสมผสานออกมาได้หากอยู่ที่มืดสนิท ส่วนพลาสม่าให้สีดำได้ดีในที่สลัว ที่มืด แต่ก็จะต้องหาทางลดเรื่องการสะท้อนของกระจกหน้าจอควบคู่กันไปด้วย จุดอ่อนที่สุดของพลาสม่าทีวีคือการ Burn-in หมายถึงการแสดงผลภาพนิ่งเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจทำให้บางจุดภาพ ( pixel ) เสียไปได้ วิธีป้องกันใช้ การปรับความแตกต่างระหว่างสีขาว-ดำ ( Contrast ) ให้น้อยลงไป ( คือปกติพลาสม่ามี Contrast สูงมากอยู่แล้ว) อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการเล่นภาพนิ่งซ้ำเดิม เป็นเวลายาวนาน พลาสม่าทีวีรุ่นใหม่มมีวิธีแก้ไข ด้วยการใช้สมองกลควบ คุมจอให้มีการขยับจุดที่นิ่งนานๆ ให้เลื่อนขึ้นลงไปมาได้เล็กน้อยโดยที่ตาคนเราจับสังเกตได้ยาก ถือเป็นการป้องกัน burn-in ที่ดี และภาพจากพลาสม่าทีวีจะให้ความรู้สึกการชมคล้าย CRT มากกว่า อายุการใช้งานแต่เดิมนั้นสั้นกว่า LCD TV ปัจจุบันมีการพัฒนาใกล้เคียงกันแล้วคือ50,000-60,000ชั่วโมง สำหรับจอแบบ LCD TV ส่วนใหญ่อัตราความสว่าง (Brightness) ทำได้สว่างมากกว่าจอแบบ Plasma และจะให้ภาพที่ดีคมชัดกว่า PLASMA ในห้องที่มีแสงสว่างเป็นพิเศษ คือต้องให้ได้ความสว่างมากกว่าที่จะเป็นแสงสลัว จอ LCD TVการปราศจากปัญหา burn-in อีกทั้งจอจะมีอายุการใช้งานมีอายุการใช้งาน ถึง 60,000 ชม.คงจะต้องยอมรับว่าคุณสมบัติบางด้านของ LCD ทำให้กลายเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขามของ PLASMA แต่ก็ไม่ได้หมายความLCD เหนือกว่า PLASMA ทุกด้าน ต้องว่ากันเป็นเรื่องๆไป

PLASMA TV บทสรุป ที่อาจจะทำให้เราต้องไปขบคิดกันก็คือ จอพลาสม่าทีวีไม่มีการเรืองแสงแบบBack light มุมมองที่เรียบแฟล็ตเท่ากัน สีสันความสว่างไม่เปลี่ยนแปลงที่มุมมองแตกต่างกัน การเคลื่อนไหวราบรื่น (Smooth) มีความต่อเนื่องของภาพ ปราศจากการหน่วงช้า (Delay) ให้สีได้เที่ยงตรง เฉดสีทำได้มากกว่า กระบวนการผลิตจะแน่นอนกว่าโอกาสเกิด รอยหยักแบบเหลี่ยม (Jagged) น้อยกว่า สีดำจะสมจริงและการไล่โทนดำเทาดีกว่า อัตรา Contrast Ratio เหนือกว่า ข้อเสียคือ หน้ากระจก ทำให้เกิดการสะท้อนเป็นเงาได้ ต้องเลือกจอพลาสม่าที่มีการเคลือบผิว (Coating) หน้าจอกันสะท้อนที่ดี ขนาดของจอมีอยู่ในช่วงที่แคบ32, 42, 50 และ 60นิ้ว อัตราการกินพลังงานเฉลี่ยใกล้เคียงกับ LCD ความเข้มของสีดำน้อยกว่าLCD อัตราการสู้แสงสว่างน้อยกว่า LCD คือ สภาพแวดล้อมที่แสงมาก PLASMA จะไม่ดีเท่า LCD

LCD TV หน้าจอแห้งเรียบ ไม่มีการสะท้อนเงารบกวนสายตาขนาดของจอ มีอยู่ในช่วงที่กว้าง 10-60 นิ้ว อัตราการกินพลังงานเฉลี่ยเท่ากับ PLASMA TV อันนี้จะต้องเรียนเอาไว้เพื่อความเข้าใจนะครับว่า จอ LCDแม้จะกินไฟต่ำ แต่ก็แสดงผลตลอดเวลาที่หน้าจอ PLASMA จะแสดงผลจากการปิดหรือเปิดแสงไปตามความสว่างมืดของภาพ ดังนั้นคิดเฉลี่ยแล้วก็จะสิ้นเปลืองพลังงานพอๆ กัน จอ LCD TV ความเข้มของสีดำที่ LCD เด่นกว่า PLASMA อัตราการสู้แสงสว่างดีกว่า PLASMA จึงตั้งไว้ดูที่สว่างๆได้โดยไม่มีปัญหารบกวนหน้าจอ อายุการใช้งานประมาณ 60,000ชั่วโมง มีข้อเสียคือธรรมชาติในโครงสร้างของมัน มีการเรืองแสงแบบ Back light (แสงสีดำ) มุมมองที่เปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่นั่งชม สีสันความสว่างอาจเปลี่ยนแปลงได้ ภาพการเคลื่อนไหวมีโอกาสไม่ราบรื่น (Smooth) สูงเนื่องจากอุณหภูมิ มีการดีเลย์ของภาพได้ ให้สีได้เที่ยงตรง มีโอกาสเกิด Jagged รอยหยักแบบเหลี่ยมได้บ้าง อยู่ที่ตัวควบคุมการไล่โทนดำเทา จะทำได้น้อยกว่า PLASMA อัตรา Contrast Ratio ต่ำกว่า PLASMA ทุกอย่างในเทคโนโลยี PLASMA และ LCD ทีวี จึงเป็นการได้เปรียบเสียเปรียบกันบนพื้นฐานเทคนิค ไม่ได้หมายความว่าใครจะดีกว่ากันแบบทิ้งขาด ให้เลือกจากความจำเป็นและความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลัก คืออัตราส่วนหรือขนาดจอภาพและคุณภาพ เปรียบเทียบราคาจำหน่าย ในห้องที่มีแสงแบบเดียวกัน

เมื่อเปิดดูในห้องสว่างๆ LCD ก็ย่อมสวยสดกว่า และเปิดในห้องแสงสลัว จอ PLASMA ก็เหนือกว่า ด้วยโครงสร้างที่ต่างกัน ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าเราจะนำมาเปรียบเทียบกันในสภาวะเดียวกันได้ อีกทั้งผู้ผลิตแต่ละรายมักจะมีวิธีการปรับจุดอ่อน เร่งจุดแข็งด้วยระบบควบคุม (Engine) หรือตัวสมองกลควบคุมจอภาพที่ดี ดังนั้นพื้นฐานทางเทคโนโลยีทั่วไป …บางทีก็เอามาใช้กับจอภาพเฉพาะรุ่นไม่ได้เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดคือชอบแบบไหนก็เลือกตามความเหมาะสม และพยายามอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้วิธีการปรับจอให้เหมาะกับห้อง นั่นแหละเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ.


วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552

ภาพและการมองเห็น



เมื่อพูดถึงเสียงแล้วจากบทความก่อน ก็มาว่ากันต่อเกี่ยวกับภาพ และการมองเห็นนะครับ
คุณคงมีความสุขกับการมองเห็นสิ่งสวยงามต่างๆในโลกสีฟ้า(Blue planet) ที่เราอาศัยอยู่ใบนี้เหมือนกันกับผมนะครับ
โลกเรามีอะไรให้พบเห็นอีกมากมายครับ ถ้าคุณมีโอกาสจงเก็บเกี่ยวสิ่งที่เห็นต่างๆ ให้มากที่สุดในชีวิตนะครับ แค่เห็นธรรมชาติที่มีความหลากหลาย แตกต่าง สวยงามนานา ผมก็มองเห็นความสวยงามของโลกเรา คุ้มที่เกิดมาในชีวิตหนึ่งแล้วครับ
วิธีย่อโลกให้เห็นได้ง่ายที่สุดที่ผมนิยมทำคือ ดูรายการที่เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ สารคดีประเทศต่างๆในโลก นำเที่ยว และรายการอื่นๆ อีกมากมาย ไม่จำกัดครับ น่าเพลิดเพลินดีจริงๆ ครับ ภาพสวย ได้ความรู้ และสร้างจินตนาการ
ผมเกริ่นนำมาพอสมควร แล้วภาพที่เราเห็นๆ นี้ เราเห็นเป็นภาพได้อย่างไร ?

ก็อีกล่ะครับธรรมชาติได้สร้างแหล่งกำเนิดแสงที่ยิ่งใหญ่ให้เราคือ ดวงอาทิตย์ แสงจะเป็นตัวช่วยในการมองเห็นภาพ บวกกับอวัยวะที่สร้างสรรค์มาอย่างนะอัศจรรย์ของคนเราก็คือดวงตาของเรานั่นเองจะเป็นภาครับภาพ ซึ่งหลักการคือ แสงไปกระทบวัตถุหรือสี่งต่างๆ และสะท้อนเข้าตาเราผ่านเลนส์ตา ตกกระทบที่เรตินา และแสดงผลเป็นภาพครับ ฉะนั้นแสง และดวงตาจึงเป็นสี่งสำคัญในการมองเห็นภาพนั่นเอง
ชนิดของแสงนอกจากแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แล้วก็อาจเกิดจากหลอดไฟ และแสงประดิษฐ์อื่นๆ ก็ได้ครับ
แล้วถ้ามืดสนิทไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ รวมทั้งภาพต่างๆ ด้วย คงไม่ดีแน่ครับ ถ้าเราจะมองไม่เห็นอะไรทั้งๆที่ตาของเรายังดีอยู่

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเสียงและการได้ยิน

เรารู้ว่าเสียงมีความสำคัญในการสื่อสารเพื่อส่งสาร จากผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิดเสียง (Source) ผ่านตัวกลางโดยทั่วไปคืออากาศ ไปยังผู้รับโดยมีอวัยวะคือหูเป็นตัวรับ แล้วเสียงคืออะไร ล่ะ ?

เสียง (Sound) คือ คลื่นกล(คลื่นที่เคลื่อนที่ได้)ชนิดหนึ่ง โดยธรรมชาติของคลื่นจะต้องมีตัวกลาง (Medium)ที่ผ่าน เสียงสามารถผ่านตัวกลางได้ทั้ง 3 สถานะ คือของแข็ง (Solid) ของเหลว (Liquid) และก๊าซหรืออากาศ (Gas) แล้วเราได้ยินเสียงได้อย่างไร?
ธรรมชาติช่างสร้างสรรค์ให้คนเรามีหูที่ช่วยรับฟังเสียงต่างๆ ได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งทำให้เราได้มีการติดต่อกันได้ แล้วเสียงก็เกิดจากการสั่นของกล่องเสียง(เป็นคลื่น)ในคอที่เปล่งออกมาทางปาก(การพูด)นั่นเอง ธรรมชาตินี่เยี่ยมจริงๆ นะครับ
เสียงก็ยังมีระดับของเสียงหรือความเข้มของเสียง (Intensity) เป็นเสียงดัง-เบามีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล (Decibel) โดยทั่วไปคนเราจะมีเสียงดัง และเบาต่างกันเวลาพูด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละคน แต่การฟังเราก็จะมีช่วงความถี่ของเสียงที่เราได้ยิน (Frequency Range)อยู่ระหว่าง 20-20,000 Hz (เฮิร์ตซ์)จากเสียงทุ้ม 20 Hzไปเสียงสูง 20,000 Hz ซึ่งก็คือตัวเลขที่เราจะคุ้นๆ เวลาเลือกซื้อเครื่องเสียง เครื่องขยายเสียง และลำโพง เพื่อการฟัง
นั่นคือเครื่องเสียงและลำโพงของเรา ควรเลือกที่มีค่าความถี่ครอบคลุมความถี่ที่เราได้ยินทั้งหมดจะยิ่งดี จะสังเกตว่าราคาจะแพงขึ้นด้วย
ระดับของเสียงที่เราๆได้ยินทุกวัน (ลองดูนะครับว่าดังแค่ไหน)



การฟังเสียงที่ดังเท่าไหร่ล่ะที่คนเรารับได้และไม่เป็นอันตราย? -- จากมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เสียงที่ดังต้องไม่เกิน 85 เดซิเบล และการฟังเสียงติดต่อกัน 24 ชั่วโมงก็ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล และหูอาจเสียหายได้ถ้าฟังเสียงดังตั้งแต่ 130 เดซิเบล ขึ้นไป หากเราจะฟังเสียงก็ควรระวังอย่าให้ดังมากนะครับ จะได้มีความสุขกับการฟังไปได้อีกนานๆ